วิสัยทัศน์
ศูนย์วิจัยวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นศูนย์วิจัยระดับแนวหน้าทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ |
เป้าหมาย
ศูนย์วิจัยวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นศูนย์วิจัยที่ได้รับการยอมรับในวงการวิชาการด้านวัสดุศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้งระดับชาติและระดับนานาชาติ ภายในระยะเวลา 3 ปี |
พันธกิจ
1. ประสานงานวิจัยด้านวัสดุศาสตร์และนวัตกรรมวัสดุ เพื่อให้เกิดการทำงานแบบบูรณาการสู่ ความเป็นเลิศทางวัสดุศาสตร์และเกิดผลงานที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง 2. สร้างความร่วมมือกับภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม ภาคเอกชน และ เครือข่ายต่างประเทศ โดยการรวบรวมปัญหาและความต้องการเพื่อนำมาเป็นโจทย์วิจัย รวมทั้งให้คำปรึกษาและแก้ปัญหาด้านวัสดุศาสตร์และเทคโนโลยี 3. ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีด้านวัสดุศาสตร์และนวัตกรรมสู่ภาคอุตสาหกรรมและชุมชนเป้าหมาย รองรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต 4. พัฒนากำลังคนด้านวัสดุศาสตร์และหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการวิจัยและนวัตกรรมตามแผนพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระยะที่ 13 |
ยุทธศาสตร์และแผนกลยุทธ์ ศูนย์วิจัยวัสดุศาสตร์ (พ.ศ. 2553-2556)
ศูนย์วิจัยวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ ได้มีการจัดทำยุทธศาสตร์ด้านการวิจัยและบริหารวิชาการของศูนย์ฯ ขึ้นโดยคณะผู้บริหารศูนย์วิจัยวัสดุศาสตร์ และผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารศูนย์วิจัยวัสดุศาสตร์ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดทำแผนการดำเนินงานและแผนปฏิบัติการต่อไป
ยุทธศาสตร์ ศูนย์วิจัยวัสดุศาสตร์ (พ.ศ. 2553-2556)
ยุทธศาสตร์เพื่อความเข้มแข็งทางการบริหารจัดการ
1.1 สนับสนุนและผลักดันให้เกิดการทำวิจัยในลักษณะสหสาขาวิชา (Interdisciplinary) เพื่อให้มีการดำเนินการเป็นโครงการขนาดใหญ่ ซึ่งจะประกอบไปด้วยนักวิจัยรุ่นใหม่ นักวิจัยรุ่นกลาง และนักวิจัยอาวุโสทำงานวิจัยร่วมกัน
1.2 นำความพร้อมของนักวิจัยที่ทำงานด้านวัสดุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มารวมกัน และช่วยสนับสนุนและผลักดันในการแสวงหาแหล่งทุน ครุภัณฑ์ และวัสดุอุปกรณ์ให้เพิ่มมากขึ้น
1.3 ทำการรวมกลุ่มนักวิจัยที่สนใจงานวิจัยเป้าหมายเดียวกัน จัดให้มีการระดมความคิด เพื่อประสานงานวิจัยและแสวงหาแหล่งทุนร่วมกัน
1.4 ผลักดันให้มีการวิจัยร่วมกับกลุ่มวิจัยทั้งในและนอกประเทศ รวมทั้งภาคเอกชนและอุตสาหกรรมให้มากยิ่งขึ้น
1.5 ผลักดันให้เกิดงานวิจัยและบริหารวิชาการที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ทั้งในส่วนของชุมชนและสังคมให้มากขึ้น
ยุทธศาสตร์เพื่อความเข้มแข็งทางด้านวิชาการ
ยุทธศาสตร์ ศูนย์วิจัยวัสดุศาสตร์ (พ.ศ. 2553-2556) จะเน้นการพัฒนางานวิจัย 5 ด้านดังนี้คือ
• วัสดุและอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมการแพทย์และสาธารณสุข
• วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ
• วัสดุโครงสร้างเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง
• ตัวตรวจจับและอุปกรณ์เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
• แบตเตอรี่และเซลล์เชื้อเพลิงเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน
งานวิจัยจะมุ่งเน้นการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้านงานวิจัยและพัฒนาของประเทศ เป็นการทำงานแบบบูรณาการร่วมกับผู้ใช้งานจริง มีความเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมเป้าหมายอย่างชัดเจน โดยจะสนับสนุนงานวิจัยทั้งด้านพื้นฐานและประยุกต์ที่ตอบโจทย์/ปัญหาของประเทศ เพื่อยกระดับการศึกษาและการวิจัยของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล รวมทั้งพัฒนาวัสดุต่างๆ ให้เป็นเทคโนโลยีหลักที่ทำให้ประเทศไทยเข้มแข็ง เชื่อมโยงและตอบสนองต่อการพัฒนาทั้งภาคการผลิต เศรษฐกิจ และ สังคม
แผนกลยุทธ์ ศูนย์วิจัยวัสดุศาสตร์ (พ.ศ. 2553-2556)
ด้านการวิจัย
1. สนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่มการทำวิจัยในลักษณะสหสาขาวิชา (Interdisciplinary) โดยการนำความพร้อมของนักวิจัยที่ทำงานด้านวัสดุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มารวมกัน และช่วยผลักดันในการแสวงหาแหล่งทุน ครุภัณฑ์ และวัสดุอุปกรณ์ให้เพิ่มมากขึ้น โดยมีการดำเนินการเป็นโครงการขนาดใหญ่ ซึ่งจะประกอบไปด้วยนักวิจัยรุ่นใหม่ นักวิจัยรุ่นกลาง และนักวิจัยอาวุโสทำงานวิจัยร่วมกัน
2. ผลักดันให้มีการวิจัยร่วมกับกลุ่มวิจัยทั้งในและนอกประเทศ รวมทั้งภาคเอกชนและอุตสาหกรรมให้มากยิ่งขึ้น
3. ผลักดันให้เกิดงานวิจัยและบริหารวิชาการที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ทั้งในส่วนของชุมชน สังคม และ ภาคอุตสาหกรรมให้มากขึ้น
4. จัดรูปแบบการบริหารงานวิจัยเพื่อนำไปสู่การพึ่งตนเอง
ด้านการบริการวิชาการ
1.ผลักดันให้นักวิจัยด้านวัสดุศาสตร์นำความรู้ที่ได้จากงานวิจัยมาบริการวิชาการเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนท้องถิ่นและภาคอุตสาหกรรมมากยิ่งขึ้น
2. เผยแพร่ข้อมูลศักยภาพนักวิจัยและเครื่องมือที่ใช้ในการบริการวิเคราะห์ เพื่อให้เกิดการบริการวิขาการมากยิ่งขึ้น
3. แสงวงหาโจทย์วิจัยเพื่อพัฒนา ภาคอุตสาหกรรม ชุมชน สังคม และผลักดันให้เกิดงานวิจัยและบริการวิชาการร่วมกันทั้งสองฝ่าย