เครื่องมือวิเคราะห์วิทยาศาสตร์

ระบบจองเครื่องมือ คลิก

ศูนย์วิจัยวัสดุศาสตร์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เปิดให้บริการงานวิเคราะห์ลักษณะเฉพาะและสมบัติของวัสดุ ให้กับหน่วยงานทั้งภายใน
และภายนอกมหาวิทยาลัย ทั้งภาครัฐ และเอกชน เพื่อสนับสนุนผลงานด้านงานวิจัยและพัฒนาการค้นคว้าคิดค้นสิ่งประดิษฐ์และต้นแบบต่างๆ อันจะนำไป
สู่การใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ในการพัฒนาประเทศ 

เครื่องมือที่เปิดให้ใช้บริการ
 
- ชุดวิเคราะห์การเลี้ยวเบนของรังสีเอ็กซ์สำหรับวัสดุผงและฟิล์มบาง (X-ray diffractor : XRD)
- เครื่องมือวิเคราะห์พื้นที่ผิวและขนาดรูพรุน (Surface area and Pore size analyzer : BET)
- เครื่องวัดขนาดอนุภาคค่าความต่างศักย์บนผิวอนุภาคและน้ำหนักโมเลกุล (Nano particle size analyzer)
- เครื่องศึกษาการเปลี่ยนแปลงสมบัติของสารโดยอาศัยสมบัติทางความร้อน (Differential Scanning Calorimeter : DSC) 
- เครื่องวิเคราะห์การคุณสมบัติทางกลของสารตัวอย่างเมื่อได้รับความร้อน (Dynamic Mechanical Analyzer : DMA)
- เครื่องวิเคราะห์คุณสมบัติทางความร้อนเชิงพลังงานและปริมาณ(Simultaneous Thermal Analysis : TG-DTA)
- เครื่องมือวัดทางเคมีไฟฟ้าแบบโมดุลลาควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์(Potentiostat / Galvanostat)
- เครื่องมือพิมพ์ 3มิติ(3D Printer)
 
โบรชัวร์เครื่องมือวิเคราะห์ศูนย์วิจัยวัสดุศาสตร์
 
 
 
 อัตราค่าบริการเครื่องมือวิเคราะห์
 
ตามประกาศ ศูนย์วิจัยวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ณ วันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
รายชื่อเครื่องมือวิเคราะห์ รายละเอียดการวิเคราะห์


อัตราค่า
บริการ
ภายใน มช.
(บาท)

 

อัตราค่า
บริการ
ภายนอก มช.
(บาท)
หมายเหตุ


 1. เครื่องศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติ
     ของสารโดยอาศัยคุณสมบัติทางความร้อน
    (Differential Scanning Calorimeter, DSC)
 

 1. คิดค่าบริการต่อ 1 การทดสอบโดยใช้วัสดุ
     ของศูนย์ฯ และมีเจ้าหน้าที่ทำการทดสอบ
     และวิเคราะห์ผลให้
     
 
 1.1 อุณหภูมิเริ่มต้นที่อุณหภูมิห้อง และ
      อุณหภูมิสูงสุดไม่เกิน 600 องศาเซลเซียส
600 900  
 
 1.2 อุณหภูมิเริ่มต้นต่ำกว่าอุณหภูมิท้อง
      และอุณหภูมิสูงสุดไม่เกิน 600 องศาเซลเซียส
840 1,250  
   2. คิดค่าบริการแบบเหมาจ่ายตามระยะเวลา
     โดยผู้มารับบริการทำการทดสอบเอง และ
     จัดหาถาดบรรจุสาร(Pan)และไนโตรเจนเหลว
     มาเองหากใช้ ถาดบรรจุสารของศูนย์ฯจะมี
     ค่าใช้จ่ายเพิ่มถาดละ 120 บาท
    ทั้งนี้

ต้องผ่านการ

อบรมการใช้

งานโดย

เจ้าหน้าที่

ประจำ

เครื่องมา

ก่อน

   2.1 ระยะเวลา 3 ชั่วโมง  720 N/A  
   2.2 ระยะเวลา 6 ชั่วโมง  1,450  N/A  


 2. เครื่องวิเคราะห์คุณสมบัติทางกลของสาร
     ตัวอย่างเมื่อได้รับอุณหภูมิเริ่มต้นที่อุณหภูมิ
     ห้อง และความร้อนแรง และความถี่
     (Dynamic Mechanical Analyzer, DMA)
 

 คิดค่าบริการต่อ 1 การทดสอบ      
   1. อุณหภูมิเริ่มต้นที่อุณหภูมิห้อง และ
     อุณหภูมิสูงสุดไม่เกิน 600 องศาเซลเซียส
  960  1,450  
   2. อุณหภูมิเริ่มต้นต่ำกว่าอุณหภูมิห้อง และ
     อุณหภูมิสูงสุดไม่เกิน 600 องศาเซลเซียส
  1,320   2,000  

 3. เครื่องมือวิเคราะห์พื้นที่ผิวและขนาดรูพรุน

     (Surface Area and Pore Size

     Analyzer : BET)
 

 คิดค่าบริการต่อ 1 การทดสอบ        
   1. BET 5 Points: Surface Area    960  1,450  
   2. BET 95 - 99 Points: Surface Area
     and Porosity
   2,400   3,600  

 4. ครุภัณฑ์ชุดแหล่งกำเนิด

    แม่เหล็กไฟฟ้าพร้อมชุด

    แหล่งจ่ายไฟและชุดหล่อเย็น

    (Magnetic Generator)
 

 คิดค่าบริการต่อ 1 การทดสอบ      
   1. ขนาดอนุภาค และ มวลโมเลกุล  960 1,450  
   2. วัดความต่างศักย์บนผิวอนุภาค 1,200 1,800  
 5. ครูภัณฑ์เครื่องวัดขนาดอนุภาคค่าความต่างศักย์
   บนผิวอนุภาค และน้ำหนักโมเลกุล

   (Nanoparticle Size, Zeta Potential
   and Molecular Weight Analyzer)

1. หาขนาดอนุภาค (0.3 nm - 8 micron)

     300/Sample
/อุณหภูมิ (กรณีส่งให้
  เจ้าหน้าที่วิเคราะห์)

  500/Sample

 

   

 400/ชั่วโมง
/อุณหภูมิ (กรณีผู้มารับ
บริการทำการทดสอบเอง)

   
   2. วัด Zeta Potential      
    - Aqueous Solution  500/Sample  1,000/Sample  
    - Organic Solution  700/Sample  1,400/Sample  
   3. หาน้ำหนักโมเลกุล  1,500/ชั่วโมง  3,000/ชั่วโมง  

 6. ครุภัณฑ์ชุดวิเคราะห์การเลี้ยวเบนของรังสีเอ็กซ์
    สำหรับวัสดุผงและฟิล์มบาง (X-Ray

    Diffractometer for Powders and
    Thin Filtms)
 

 อัตราคิดค่าบริการ      
   1. ค่าดำเนินการตรวจสอบเบื้องตันด้วยการ

     สแกนมุม 10 - 60 องศา โดยเพิ่มทีละ 0.01

     องศา ด้วยความเร็ว 10 dpm

 380  570  
   2. ค่าดำเนินการตรวจสอบด้วยเงื่อนไขอื่น

     นาทีละ

 60  90  
   3. ค่าดำเนินการแบบเหมา ชั่วโมงละ  3,840  5,760  
   4. ค่าเตรียมตัวอย่าง  90  135  
   5. ค่าวิเคราะห์ข้อมูลและแปรผล ตัวอย่างละ  600  900  
         

 

  7. เครื่องมือวัดทางเคมีไฟฟ้า
แบบโมดุลลาควบคุมด้วย
คอมพิวเตอร์(Potentiostat)
 
 ค่าบริการแบบเหมาจ่ายระยะเวลา 3 ชั่วโมง
 โดยผู้มารับบริการทำการทดสอบเอง
1,000/ 3 ชั่วโมง                                          
  8. เครื่องวิเคราะห์สมบัติทางความร้อน
เชิงพลังงานและปริมาณ
(Simultaneous Thermal Analysis, STA)
 
 1. กรณีอุณหภูมิไม่เกิน 500 °C 700/ ตัวอย่าง 900/ ตัวอย่าง  
   2. กรณีอุณหภูมิไม่เกิน 1,300 °C  1,000/ ตัวอย่าง  1,200/ ตัวอย่าง  
                                                                                    3. กรณีอุณหภูมิไม่เกิน 1,500 °C                      1,200/ ตัวอย่าง         1,400/ตัวอย่าง                    

 

 

 

 

 

 

 

 
 หมายเหตุ: อัตรานี้ไม่รวมค่าเตรียมตัวอย่าง
 
 
 
 
 
 
 
 
 
X-ray Diffractometer (เครื่อง XRD)
เทคนิคเอกซเรย์ดิฟแฟรกชัน หรือ เทคนิค XRD เป็นเทคนิคที่นำรังสีเอกซ์มาใช้วิเคราะห์โครงสร้างผลึกของสารประกอบและแร่
ผลการวิเคราะห์จาก XRD ทำให้สามารถแยกแยะประเภทและชนิดของวัสดุที่พบในธรรมชาติว่ามีรูปแบบโครงสร้างผลึกแบบใด 
หรือจำแนกได้ว่าวัสดุที่พบเห็นนั้นเป็นแร่ชนิดใด โดยทำการวัดค่าความเข้มของรังสีที่สะท้อนออกมาที่มุมต่างๆเปรียบเทียบกับข้อมูลมาตรฐาน
ที่ทำการตรวจวัดโดยองค์กร JCPDs (Joint Committee on Powder Diffraction Standard) 
เนื่องจากสารประกอบแต่ละชนิดมีรูปแบบโครงสร้างผลึกแตกต่างกันและระยะห่างระหว่างระนาบของอะตอมที่จัดเรียงกันอย่างเป็นระเบียบ
ก็แตกต่างกันไปด้วย โดยที่ขนาดและประจุของอะตอมของสารประกอบแต่ละชนิดจะมีรูปแบบ (XRD pattern) เฉพาะตัว เปรียบได้กับ
ลายนิ้วมือของคนที่แตกต่างกัน 
 
 
 

Surface Area and Pore Size Analyzer (เครื่อง BET)
ใช้วิเคราะห์หาพื้นที่ผิว ขนาดของรูพรุน การกระจายขนาดของรูพรุน ปริมาตรรูพรุนทั้ง Mesopore และ Micropore และยังสามารถ
ทำนายรูปร่างของรูพรุนเปิดของวัสดุโดยใช้หลักการดูดซับทางกายภาพ

 

 Nanoparticle Analyzer (เครื่อง NanoSizer)
เครื่องวัดขนาดอนุภาค ค่าความต่างศักย์บนผิวอนุภาค และน้ำหนักโมเลกุลโดยอาศัยการเลี้ยวเบนของแสงเลเซอร์

 

 Differential Scanning Calorimeter (เครื่อง DSC)
DSC เป็นเทคนิคที่ใช้วิเคราะห์ทดสอบวัสดุโดยการวัดค่าพลังงานความร้อนและอุณหภูมิของสารตัวอย่างเปรียบเทียบกับสารมาตรฐาน
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพหรือการเปลี่ยนแปลงทางเคมี เช่น การหลอมเหลว การเปลี่ยนสถานะ การเปลี่ยนรูปผลึก การเกิดปฏิกิริยาเคมี เป็นต้น 

 
 

 

Dynamic Mechanical Analyzer (เครื่อง DMA)
DMA เป็นเทคนิควิเคราะห์สมบัติทางความร้อนของวัสดุที่ใช้ศึกษาสมบัติเชิงกล และสมบัติวิสโคอิลาสติก ของวัสดุที่เป็นฟังก์ชัน
กับ อุณหภูมิ เวลา ความถี่ ความเค้น หรือตัวแปรเหล่านี้ประกอบกัน ซึ่งให้ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพที่มีประโยชน์ต่อวิศวกรควบคุมระบบการผลิต 
นักวิจัยและนักเคมี ตัวอย่างข้อมูลที่วิเคราะห์ได้ เช่น ค่ามอดุลัส(storage and loss modulus) อุณหภูมิสภาวะคล้ายแก้ว (Tg) และลักษณะการเกิด
relaxation ของสายโซ่พอลิเมอร์

 

Simultaneous Thermal Analyzer (เครื่อง STA)
เครื่อง STA เป็นเครื่องที่สามารถหาปริมาณความร้อนที่เปลี่ยนแปลงไปของสารตัวอย่างเนื่องจากปฏิกิริยาทั้งที่เป็นแบบดูดความร้อน และคายความร้อน
อีกทั้งสามารถหาปริมาณน้ำหนักของสารตัวอย่างที่เปลี่ยนแปลงไปอันเนื่อง มาจากปฏิกิริยารีดักชันหรือออกซิเดชันขณะที่เพิ่ม/ลด และรักษาอุณหภูมิ
ให้คงที่แก่สารตัวอย่าง สารตัวอย่างที่สามารถวิเคราะห์ได้เช่น สารพอลิเมอร์ เซรามิค โลหะ อาหาร ยาปฏิชีวนะ ยางสังเคราะห์ เป็นต้น 

 
 

 
Potentiostat Galvanostat (เครื่อง PGSTAT)
เครื่อง PGSTAT เป็นเครื่องมือวัดทางเคมีไฟฟ้าแบบโมดุลลาควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย ชุดควบคุมหลัก ที่สามารถทำงานด้วย
ระบบโพเทนทิโอสแตทและกัลวานอสแตท อีกทั้งมีโมดุลที่ใช้สำหรับทำElectrochemical impedance spectroscopy (EIS) โดยมีชุดโปรแกรมสำเร็จรูป
ควบคุมการทำงานชุดควบคุมหลัก ตัวอย่างการนำไปใช้ศึกษาเช่น ศึกษาการกัดกร่อนของชิ้นงาน, fuel cell, battery, energy, biotechnology และ
sensor development เป็นต้น
 
 

 
3D Printer (เครื่องมือพิมพ์ 3มิติ)
เครื่อง 3D Printer คือเทคโนโลยีการผลิตที่สามารถเปลี่ยนข้อมูลดิจิตอล หรือแบบจำลอง 3 มิติ ที่สร้างขึ้น ให้กลายเป็นชิ้นงานจริง
ที่สามารถจับต้องได้ โดยหลักการของเครื่องคือ การเติมเนื้อวัสดุ (additive)ทีละชั้น (layer by layer) จนได้ตามแบบที่ต้องการ
ซึ่งแตกต่างจากกระบวนการผลิตแบบดั้งเดิมเช่น เครื่องกลึงเครื่องกัด เครื่องตัด หรือเครื่อง CNC ที่มักใช้การตัด หรือนำเนื้อวัสดุออก (subtractive)
ดังนั้นวัสดุที่ใช้และสูญเสียในการผลิตจึงน้อยกว่า
 
 

ติดต่อสอบถามข้อมูมลเพิ่มเติมได้ที่

คุณจินดาพร ชัยศร โทร. 093-1909386, 053-941915
อีเมล: central.lab.materialscmu@gmail.com
Facebook: เครื่องมือวิเคราะห์วิทยาศาสตร์ ศูนย์วิจัยวัสดุศาสตร์  
สถานที่: อาคาร 40 ปี คณะวิทยาศาสตร์(scb2) ชั้น 4 ห้อง2409
ที่อยู่: 239 ถนนห้วยแก้ว ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200

 

 

 

ติดต่อเรา
ศูนย์วิจัยวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อาคาร 40 ปี (SCB-2) คณะวิทยาศาสตร์ ห้อง SCB-2 2408/01
โทร : 053 941915 / Fax : 053 941915
ห้องเครื่องมือกลาง : 053 941918, 093-1909386
Facebook: msrc.scicmu